Yanhee International Hospital.

หน้าแรก -> โรคที่รักษาด้วย HBO -> ออฟฟิศซินโดรม

ออฟฟิศซินโดรม

มนุษย์เงินเดือนในสังคมเมืองอย่างเรา ๆ ท่าน ๆ ที่ทำงานออฟฟิศ วัน ๆ ต้องนั่งทำงานติดโต๊ะ จ้องจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลาหลาย ๆ ชั่วโมง แทบไม่ได้ขยับแข้งขยับขาหรือลุกไปไหน พิมพ์งานพิมพ์เอกสาร หรือไม่ก็ประชุมกันวันยันค่ำ คนทำงานออฟฟิศที่อยู่กับกิจกรรมเดิม ๆ ซ้ำ ๆ อย่างนี้นานวันเข้า โรคออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome)อาจถามหา โรคนี้ถือเป็นโรคฮิตของคนทำงานออฟฟิศเลยทีเดียว เป็นได้ตั้งแต่พนักงานระดับล่างที่ทำงานธุรการเอกสารไปจนถึงระดับหัวหน้างาน ผู้จัดการ กระทั่งผู้บริหารก็อาจถูกโรคออฟฟิศซินโดรมเล่นงานเอาได้

อาการอย่างนี้…ใช่เลย ! โรคออฟฟิศซินโดรม

คนทำงานออฟฟิศที่ต้องนั่งทำงานอยู่กับที่เป็นเวลานานๆ มักจะมีอาการปวดตึงกล้ามเนื้อบริเวณต้นคอ บ่า ไหล่ สะบัก และหลัง บางคนมีอาการปวดตลอดเวลา สร้างความหงุดหงิดรำคาญใจ บางคนคลำพบก้อนแข็ง ๆ บริเวณต้นคอ รู้สึกกังวลใจจนต้องรีบไปพบแพทย์ เมื่อซักประวัติ-ตรวจร่างกาย พบว่าเป็นอาการกล้ามเนื้อหดเกร็งซึ่งเป็นอาการที่พบได้ในโรคออฟฟิศซินโดรมนั่นเอง

นอกจากอาการปวดตึงกล้ามเนื้อบริเวณต้นคอ บ่า ไหล่ สะบัก และหลังดังกล่าวแล้ว บางทีอาการปวดอาจลามขึ้นไปยังกล้ามเนื้อบริเวณขมับหรือรอบๆ กระบอกตา ซึ่งอาการจะดูคล้ายโรคไมเกรนทำให้คนไข้บางคนเข้าใจผิดคิดว่าตนเองเป็นไมเกรน และถ้าอาการปวดเป็นเรื้อรังก็อาจทำให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายทำงานผิดปกติได้ เป็นต้นว่า คนไข้อาจมีสมาธิในการทำงานลดลงส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน มีปัญหานอนไม่หลับ มีอาการมึนงงหรือเวียนศีรษะ อารมณ์แปรปรวน เช่น หงุดหงิดหรือซึมเศร้า ระบบที่เห็นชัดเจนอีกระบบก็คือ ระบบการย่อยอาหาร เป็นต้นว่า เรอบ่อย ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องผูกหรือท้องเสียบ่อย ๆ นี่เป็นผลต่อเนื่องที่ตามมาซึ่งพบได้เช่นกัน ไม่ใช่แค่อาการปวดๆ ตึงๆ ของกล้ามเนื้ออย่างเดียว

รับมือ…ออฟฟิศซินโดรม

ทางออกแรก ๆ ของคนไข้ที่เป็นโรคออฟฟิศซินโดรม ก็คือ การนวดคลายกล้ามเนื้อ วิธีนี้ให้ผลชั่วคราว และต้องระวังกันด้วย เพราะถ้าหมอนวดออกแรงกดมากเกินไปก็อาจทำให้กล้ามเนื้อระบมอักเสบมากขึ้นกว่าเดิม

การไปพบแพทย์ก็เป็นอีกวิธีที่ปฏิบัติกันบ่อย ซึ่งแพทย์มักจะจ่ายยาแก้อักเสบ ยาแก้ปวด ยาคลายกล้ามเนื้อ บางทีก็เพิ่มยาคลายกังวลมาให้ด้วย เพื่อให้คนไข้พักผ่อนได้เต็มที่

การปรับพฤติกรรมการทำงานให้ถูกต้องก็เป็นสิ่งสำคัญ เป็นต้นว่า ไม่เพ่งหน้าจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ ควรพักสายตาทุก 15 นาที จัดท่านั่งในการทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ให้ถูกต้อง เช่น ไม่ยกไหล่ควรปล่อยสบาย ๆ หลังตรง ไม่นั่งชิดหน้าจอมากเกินไปเพราะจะทำให้ไหล่ยก กล้ามเนื้อคอเกร็งตลอดเวลา การจับเม้าส์ต้องไม่ให้ข้อมือลากกับพื้นโต๊ะ ความสูงของเก้าอี้สูงพอดีกับขาท่อนล่าง เป็นต้น

ส่วนการรักษาเสริมอื่น ๆ ก็มีอย่างเช่น การทำกายภาพบำบัด ทำกายบริหารอย่างสม่ำเสมอ การเลือกรักษาด้วยการแพทย์ทางเลือก ได้แก่ การฝังเข็ม และการรักษาด้วยออกซิเจนบริสุทธิ์ 100% (HBOT)

ใส่รูปใส่รูปใส่รูปใส่รูปใส่รูปใส่รูปใส่รูปใส่รูปใส่รูป

การรักษาโรคออฟฟิศซินโดรม…ด้วยออกซิเจนบริสุทธิ์ 100% (HBOT)

การนั่งทำงานในท่าเดิมเป็นเวลานาน ๆ จะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณต้นคอ บ่า ไหล่ สะบัก และหลัง มีการหดเกร็งตัวอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา การไหลเวียนของเลือดในบริเวณดังกล่าวจึงเกิดการติดขัด ทำให้เซลล์ขาดสารอาหารและออกซิเจนไปบำรุงเลี้ยงเกิดการคั่งของของเสีย ผลที่ตามมาก็คือเซลล์กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อในบริเวณดังกล่าวเกิดการอักเสบ ทำให้มีอาการปวดตึง หากปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ จนกลายเป็นการอักเสบเรื้อรังทำให้มีอาการปวดตลอดเวลา หรือนำไปสู่อาการผิดปกติในระบบอื่นตามมาได้

การให้ผู้ป่วยหายใจรับออกซิเจนบริสุทธิ์ 100% จะทำให้ร่างกายผู้ป่วยได้รับออกซิเจนในปริมาณที่สูงกว่าปกติหลายเท่า จะช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนในเซลล์กล้ามเนื้อ ลดการอักเสบ กล้ามเนื้อคลายตัว ช่วยให้อาการปวดตึงบริเวณต้นคอ บ่า ไหล่ สะบัก และหลัง ดีขึ้น รวมถึงอาการปวดเมื่อยตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ปวดแขน ปวดขา ก็จะดีขึ้นด้วย

เมื่ออาการปวดตึงกล้ามเนื้อได้รับการเยียวยา ก็จะช่วยลดผลกระทบต่อเนื่องที่อาจเกิดในระบบอื่น ๆ ของร่างกายได้ แต่บางทีผลต่อเนื่องเกิดขึ้นแล้ว เช่น คนไข้มีอาการปวดศีรษะจากความเครียด หรือปวดศีรษะไมเกรน มีภาวะเครียด นอนไม่หลับ แพทย์ก็จะแนะนำให้คนไข้รักษาด้วย HBO ก็จะช่วยในเรื่องเหล่านี้ได้เช่นกันค่ะ

สรุปว่าการให้ออกซิเจนบริสุทธิ์ 100% จะไปปรับกลไกในร่างกายที่ช่วยทำให้อาการของโรคออฟฟิศซินโดรมดีขึ้นได้ดังนี้

  • มีฤทธิ์ลดการอักเสบโดยตรง จึงลดอาการปวด, อักเสบได้
  • ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือดให้ร่างกายผ่อนคลายและหลับได้ดี
  • ช่วยกระตุ้นการหดตัวของหลอดเลือดในสมอง ลดอาการปวดศีรษะจากไมเกรน ความเครียดได้

สำหรับการรักษาอาการออฟฟิศซินโดรม คนไข้ต้องเข้าเครื่อง HBO ครั้งละ 1 – 2 ชม. ประมาณ 1 – 3 ครั้งต่อสัปดาห์ จะเข้าเครื่องกี่ครั้งนั้นขึ้นกับอาการของคนไข้ ถ้าอาการดีขึ้นก็หยุดทำ จากประสบการณ์ที่ผ่านมาพบว่าอาการโรคออฟฟิศซินโดรมจะดีขึ้นเมื่อทำไปประมาณ 10 ครั้ง ก่อนทำก็ให้แพทย์ตรวจร่างกายว่าไม่มีไข้ หรือหวัด หรือโรคติดเชื้ออื่น เตรียมตัวง่าย ๆ เพียงเท่านี้ ขณะรักษาก็แค่สวมหมวก (Hood) ออกซิเจนแล้วเข้าไปนั่งหรือนอนภายในห้องปรับบรรยากาศ ที่เรียกว่า อุโมงค์ออกซิเจน (Hyperbaric Chamber) เท่านั้น ไม่ยุ่งยากแล้วยังช่วยคืนสุขภาพที่ดีกลับมาด้วย คนทำงานออฟฟิศยิ้มออกกันแล้วใช่มั้ยคะ

โรคที่รักษาด้วย HBO